การนำเสนอผลงาน : การประชุมวิชาการนานาชาติ
ชื่อเรื่อง:Kanokporn Ponmana, Ruengwit Sawangkeaw, Winatta Sakdasi. 2020. Extraction of coffee oil from roasted and spent coffee grounds by supercritical CO2. PPC & Petromat Symposium 2020 vol 278-284
Extraction of coffee oil from roasted and spent coffee grounds by supercritical CO2
บทคัดย่อ:กากกาแฟ (SCGs) เป็นของเหลือทิ้งจากการผลิตกาแฟสดและการผลิตการแฟสำเร็จรูป ซึ่งในกากกาแฟมีองค์ประกอบของน้ำมัน ไฟเบอร์ และสารต้านอนุมูลอิสระ ในกากกาแฟมีน้ำมันอยู่ประมาณร้อยละ 10-20 โดยน้ำหนัก องค์ประกอบของกรดไขมันที่พบในน้ำมันกากกาแฟส่วนใหญ่เป็นกรดลิโนเลอิก และกรดปาล์มมิติก จากการศึกษาสามารถสกัดน้ำมันกาแฟด้วยวิธีการสกัดแบบดั้งเดิม และการสกัดด้วยของไหลด์ภาวะเหนือวิกฤต การสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤตกลายเป็นวิธีการสกัดที่ดีกว่าการสกัดแบบดั้งเดิม เพราะว่าเป็นเทคโนโลยีที่สะอาดเหมาะสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้คาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤตยังเป็นวิธีที่มีความยืดหยุ่น เนื่องจากสามารถเปลี่ยนสมบัติต่าง ๆ ได้ เช่น ความหนาแน่น ความสามารถในการละลาย ความหนืด และการแพร่ โดยการปรับความดัน และอุณหภูมิ โดยวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ สกัดน้ำมันจากกากกาแฟโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต ทำการศึกษาที่ช่วงอุณหภูมิ 40-60 องศาเซลเซียส ความดันช่วง 200-300 บาร์ และอัตรการไหลของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ 10 กรัมต่อนาที ซึ่งงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤตเป็นกระบวนการทางเลือกที่ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดกากกาแฟ
Spent coffee grounds (SCGs) are waste from the productions of fresh and instant coffee. SCGs consist of oil, fiber, and antioxidants. The oil content in SCGs is around 10-20%wt. The major components of fatty acids present in oil are linoleic and palmitic acids. In this study, the coffee oil can be extracted by conventional methods and supercritical fluid extraction. The supercritical carbon dioxide (SCCO2)extractionovercomes the disadvantages of conventional methods because it is a clean technology for food processing without negative impact on the environment. The SCCO2 is a flexible method because it can vary properties, including density, solubility, viscosity, and diffusivity by changing pressure and temperature. The aim of this work is to extract oil from SCGs by using SCCO2. The operating parameters were temperature (40-60 C), pressure (200-300 bar), and CO2 flow rate at 10 g/min. This work reveals that SCCO2 extraction is an alternative process to reduce environmental problems and disposal costs of SCGs.
ผู้จัดทำ:นางสาวกนกพร ผลมานะ
ดร. เรืองวิทย์ สว่างแก้ว, ผศ.ดร. วินัฏฐา ศักดาศรี, ศ.ดร. สมเกียรติ งามประเสริฐสิทธิ์
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology