การนำเสนอผลงาน : การประชุมวิชาการนานาชาติ
ชื่อเรื่อง:Thussanee Plangklang and Pramote Khuwijitjaru. 2020. Subcritical ethanol extraction of oil from coconut meal. The 22nd Food Innovation Asia Conference 2020 (FIAC 2020) Future Food Innovation for Better Health and Wellness 18-20 June 2020 (ไม่มี full paper)
บทคัดย่อ:กากมะพร้าวจากกระบวนการผลิตกะทิยังคงมีไขมันหลงเหลืออยู่ในปริมาณที่ค่อนข้างสูง ซึ่งอาจสกัดไขมันเหล่านี้ออกมาได้เมื่อใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นได้ของการสกัดน้ำมันจากกากมะพร้าวด้วยเอทานอลภายใต้สภาวะกึ่งวิกฤต โดยนำกากมะพร้าวที่มีปริมาณไขมันร้อยละ 19.85 มาสกัดด้วยเอทานอลในเวสเซลที่ความเข้มข้นของเอทานอล อัตราส่วนของเอทานอลต่อกากมะพร้าว อุณหภูมิและเวลาในการสกัดที่แตกต่างกัน การสกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 100 อัตราส่วน 8: 1 ที่ 100 องศาเซลเซียส นาน 45 นาที สามารถกู้คืนน้ำมันที่อยู่ในกากมะพร้าวได้มากที่สุด (ร้อยละ 81.49) ซึ่งค่าที่ได้ไม่มีความแตกต่างทางสถิติเมื่อเทียบกับกับการสกัดที่ 120 องศาเซลเซียส นาน 15-45 นาที น้ำมันที่ได้มีลักษณะใสและมีสีเหลืองเล็กน้อย มีค่าเปอร์ออกไซด์ ค่าสปอนนิฟิเคชัน ค่าปริมาณสารที่สปอนนิฟายไม่ได้ และองค์ประกอบกรดไขมันเป็นไปตามมาตรฐานของ Asian and Pacific Coconut Community standard ในขณะที่ปริมาณกรดไขมันอิสระมีค่าสูงเกินค่ามาตรฐาน ปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด (ไมโครกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัมน้ำมัน, g GAE/g) และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (ร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH) ของน้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการสกัดด้วยเอทานอลที่สภาวะกึ่งวิกฤตที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 45 นาที (47.80 g GAE/g, ร้อยละ 51.06) และ 120 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที (26.80 g GAE/g, ร้อยละ 33.15) มีค่าสูงกว่าน้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการสกัดด้วยเฮกเซนเป็นเวลา 45 นาที (13.67 g GAE/g, ร้อยละ 8.45) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าวิธีการสกัดด้วยเอทานอลที่สภาวะกึ่งวิกฤตสามารถใช้ในการสกัดน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลผลิตน้ำำมันที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้น
Coconut meal from coconut milk process still contains relatively high amount of lipid which can be further extracted using suitable solvent. This work aimed to evaluate the feasibility of subcritical ethanol extraction of oil from coconut meal in a batch-type vessel. Coconut meal with an oil content of 19.85% (w.b.) was treated with subcritical ethanol at various ethanol concentrations (80-100%), solvent-solid ratios (8:1, 10:1, and 15:1 v/w), temperatures (80120 °C), and times (045 min). The highest oil recovery (81.49%) was obtained from the extraction with 100% ethanol and solvent-solid ratio of 8:1 (v/w) at 100 °C for 45 min which did not significantly differ from those obtained at 120 °C for 1545 min. The oils obtained from every extraction condition was slightly yellow and clear. The chemical properties, including peroxide value, saponification value, unsaponifiable matter and fatty acid profile of the oils conformed to the Asian and Pacific Coconut Community (APCC) standard, while free fatty acid values of all samples were above the maximum standard limit. The total phenolic content (g gallic acid equivalent (GAE)/g oil) and DPPH radical-scavenging activity (% inhibition) of the oils from the subcritical ethanol extraction at 100 °C, 45 min (47.80 g GAE/g oil, 51.06%) and 120 °C, 15 min (26.80 g GAE/g oil, 33.15%) were significantly higher than that of the soxhlet extraction using hexane for 45 min (13.67 g GAE/g oil, 8.45%). The results indicated that subcritical ethanol extraction has a potential to extract oil from coconut meal with a higher antioxidant activity compared to the conventional solvent extraction, in short extraction time.
ผู้จัดทำ:61403801 : นางสาวทัศนีย์ ปลั่งกลาง
รองศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ คูวิจิตรจารุ
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology