การนำเสนอผลงาน : การประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่อเรื่อง:เพียงใจ เลิศศรี และ ปราโมทย์ คูวิจิตรจารุ. 2563. ฤทธิ์การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร. การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 10
Tyrosinase inhibitory activity of extracts from agricultural by-products
บทคัดย่อ:เอนไซม์ไทโรซิเนสเป็นเอนไซม์ในกลุ่มของพอลิฟีนอลออกซิเดสที่เป็นสาเหตุหลักของปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลในผักและผลไม้ โดยเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารประกอบฟีนอลิกในผักและผลไม้เกิดเป็นสารประกอบสีน้ำตาล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธ์การยับยั้งการทำงานของเอมไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดจากข้าวและข้าวโพด ได้แก่ รำข้าว, แกลบ, ฟาง, ต้นข้าวโพด,เปลือกฝักข้าวโพด, ซังข้าวโพดและไหมข้าวโพด ซึ่งสกัดด้วยน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 40˚C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยใช้สารตั้งต้นของเอนไซม์สองชนิดคือ L-DOPA และ L-tyrosine จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดของซังข้าวโพดมีฤทธิ์การยับยั้งการทำงานเอนไซม์ไทโรซิเนสสูงที่สุด คือร้อยละ 71.27/10 mg dry extract สำหรับสารตั้งต้น L-DOPA และร้อยละ 35.19/10 mg dry extract สำหรับสารตั้งต้น L-tyrosine
Tyrosinase is an enzyme in the group of polyphenol oxidase which is the main cause of enzymatic browning in fruits and vegetables. The enzyme catalyzes oxidation of phenolic compounds in raw materials into dark color pigment. The objective of this research was to evaluate the tyrosinase inhibitory activity of extracts from by-products of rice and corn including rice bran, rice husk, rice straw, corn stalk, corn husk, corncob, and corn silk. All by-products were extracted with distilled water at 40˚C for 1h. Two substrates for tyrosinase namely L-DOPA and L-tyrosine were used. The results indicated that corncob extract showed the highest tyrosinase inhibitory activities of 71.27%/10 mg dry extract and 35.19%/10 mg dry extract for L-DOPA and L-tyrosine, respectively.
ที่ปรึกษา:รองศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ คูวิจิตรจารุ
ผู้จัดทำ:60403203 : นางสาวเพียงใจ เลิศศรี
รองศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ คูวิจิตรจารุ
รายงานฉบับสมบูรณ์:รายงานฉบับสมบูรณ์(docx)
รายงานฉบับสมบูรณ์(pdf)
Presentation:Presentation(pdf)
ระดับคุณภาพงานวิจัย:มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology