การนำเสนอผลงาน : การประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่อเรื่อง:กรชนก ชมพิกุล วิธู ชูศี และธัชพงศ์ ชูศรี. 2018. ผลของการควบคุมอุณหภูมิในการทําแห้งด้วยลมร้อนต่อการหดตัว และการคืนกลับความชื้นของมะม่วงสุก. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018” .2: 17-26
Effect of temperature control in hot air drying on shrinkage and rehydration of ripe mango
บทคัดย่อ:งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวิธีการควบคุมอุณหภูมิในการทำแห้ง 2 วิธี คือการทำแห้งแบบอุณหภูมิตัวอย่างคงที่ กับอุณหภูมิลมร้อนคงที่ ที่อุณหภูมิ 50, 60 และ 70˚C และความเร็วลม 2 m/s ต่อจลนพลศาสตร์ของการทำแห้ง การหดตัว และการคืนกลับความชื้น (Rehydration) จากการศึกษาพบว่าค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้น (Effective moisture diffusivity: Deff ) จากการควบคุมอุณหภูมิในการทำแห้งทั้ง 2 วิธีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยการทำแห้งที่อุณหภูมิสูงมีค่า Deff สูงกว่าการทำแห้งที่อุณหภูมิต่ำ โดยค่า Deff จากการทำแห้งแบบอุณหภูมิตัวอย่างคงที่ และอุณหภูมิลมร้อนคงที่ ที่ 50 60 และ 70 ๐C มีค่า (1.49, 1.85, 2.20, 1.38, 1.79, 2.15)10-9 m2/s ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์จากการทำแห้งทั้ง 2 วิธีมีการหดตัวเท่ากัน แต่กลไกการหดตัวแตกต่างกันโดยการหดตัวที่อุณหภูมิตัวอย่างคงที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆตลอดกระบวนการทำแห้ง ในขณะที่การหดตัวที่อุณหภูมิลมร้อนคงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกของการทำแห้งและเกิดเล็กน้อยในช่วงท้าย มีผลทำให้โครงสร้างผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างกันพิจารณาได้จากการคืนกลับความชื้นของตัวอย่างจากการทำแห้งแบบอุณหภูมิตัวอย่างคงที่มีค่าสูงกว่าตัวอย่างจากการทำแห้งแบบอุณหภูมิลมร้อนคงที่โดยค่าการคืนกลับความชื้นของตัวอย่างจากการทำแห้งแบบอุณหภูมิตัวอย่างคงที่ และอุณหภูมิลมร้อนคงที่ ที่ 50, 60 และ 70 ๐C มีค่า 3.26, 4.70, 5.21 และ 2.74, 3.24, 3.80 ตามลำดับ แสดงให้เห็นได้ว่าตัวอย่างจากการทำแห้งด้วยอุณหภูมิตัวอย่างคงที่จะมีโครงสร้างเป็นรูพรุนมากกว่า จึงมีผลทำให้มีค่าการคืนกลับความชื้นที่สูงกว่า
This study aimed to investigate the effect of drying temperature control on drying kinetics, shrinkage and rehydration. The drying temperature control consisted of two methods; constant sample temperature and constant hot air temperature which performed at 50, 60 and 70˚C and 2 m/s air velocity. The results found that the effective moisture diffusivity (Deff) from this two methods was not significant differences (P<0.05). However, the Deff at high temperature drying was higher than that of low temperature drying. The Deff of sample temperature and constant hot air temperature at 50, 60 and 70˚C and 2 m/s air velocity was (1.49, 1.85, 2.20, 1.38, 1.79, 2.15)10-9 m2/s, respectively. The products of both drying methods possessed the same shrinkage. Conversely, the shrinkage mechanism was different which the shrinkage at constant sample temperature occurred slowly throughout the drying process whereas the shrinkage at constant hot air temperature occurred rapidly in first stage and slightly shrunk at the end of the process. This results affected to material structure that determined by the rehydration of the sample. The rehydration of constant sample temperature was higher than that of constant hot air temperature. The rehydration of constant sample temperature and constant hot air temperature at 50, 60 and 70˚C and 2 m/s air velocity was 3.26, 4.70, 5.21 and 2.74, 3.24, 3.80, respectively. The result revealed that the sample structure of constant sample temperature was more porous, resulting in a higher rehydration.
ผู้จัดทำ:60403201 : นางสาวกรชนก ชมพิกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชพงศ์ ชูศรี
รายงานฉบับสมบูรณ์:รายงานฉบับสมบูรณ์(docx)
รายงานฉบับสมบูรณ์(pdf)
Presentation:Presentation(pptx)
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology