การนำเสนอผลงาน : วารสารในประเทศ
ชื่อเรื่อง:คคนางค์ ลิขิตวิวัฒน์, กมลวัลย์ แดงมาดี, ปราโมทย์ คูวิจิตรจารุ และบุศรากรณ์ มหาโยธี. 2561. การวัดปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมดในน้ำกระเจี๊ยบและน้ำผลหม่อนด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปีอินฟราเรดย่านใกล้. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 49 (4 พิเศษ): 175-178.
Link:บทความเต็ม
บทคัดย่อ:ดอกกระเจี๊ยบและผลหม่อนเป็นพืชที่มีปริมาณแอนโทไซยานินซึ่งเป็นรงควัตถุที่สามารถแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง จึงนิยมนำไปทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ โดยทั่วไปการวิเคราะห์ปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมดจะใช้วิธี pH differential ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องมีการใช้สารเคมีสกัดตัวอย่างทำให้ใช้เวลานานในการวิเคราะห์ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการใช้เทคนิค สเปกโทรสโกปีอินฟราเรดย่านใกล้ สำหรับวิเคราะห์ปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมดในน้ำกระเจี๊ยบและน้ำผลหม่อน โดยน้ำกระเจี๊ยบจำนวน 100 ตัวอย่าง และน้ำผลหม่อน จำนวน 99 ตัวอย่าง ถูกเตรียมจากดอกกระเจี๊ยบและผลหม่อนสดที่ถูกปั่นละเอียดโดยมีอัตราส่วนของตัวอย่างต่อน้ำกลั่นเท่ากับ 1:1 น้ำหนักต่อปริมาตร และนำมาเจือจางให้ได้ความเข้มข้นต่างๆ กัน 20 ระดับ จากนั้นนำตัวอย่างไปวัดการดูดกลืนแสงในช่วงเลขคลื่น 12500-4000 cm-1 ด้วยการวัดแบบส่องผ่านสะท้อนกลับ และวิเคราะห์ปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมดด้วยวิธี pH differential พบว่าตัวอย่างน้ำกระเจี๊ยบและน้ำผลหม่อนมีปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมดอยู่ในช่วง 8.85 - 454.38 และ 3.00 – 98.35 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเส้นสเปกตรัมที่ได้กับค่าทางเคมี โดยใช้วิธีการถดถอยกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน พบว่าสมการการทำนายที่ดีที่สุดในการวิเคราะห์ปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมดในน้ำกระเจี๊ยบให้ค่าความแม่นยำและค่าความผิดพลาดดังนี้ R2, RMSEP, bias และ RPD เท่ากับ 0.96, 20.70 มิลลิกรัมต่อลิตร, -6.40 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 5.35 ตามลำดับ ส่วนในน้ำผลหม่อนให้ค่า R2, RMSEP, bias และ RPD เท่ากับ 0.99, 2.91 มิลลิกรัมต่อลิตร, -0.20 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 8.36 ตามลำดับ และเมื่อสร้างสมการรวมจากข้อมูลของน้ำกระเจี๊ยบและน้ำผลหม่อนให้ค่า R2, RMSEP, bias และ RPD เท่ากับ 0.94, 25.10 มิลลิกรัมต่อลิตร, 0.86 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 4.02 ตามลำดับ
Roselle sepals and mulberry fruit contain high amount of anthocyanins pigment which exhibit antioxidant activity and therefore is popular as healthy drinks. Determination of total anthocyanins content is usually done by pH differential method which requires chemicals and is time consuming. In this research, near infrared spectroscopy for total anthocyanins content was investigated. Roselle juice (100 samples) and mulberry juice (99 samples) were prepared by homogenizing fresh roselle sepals or mulberry fruits with distilled water at the sample to water ratio of 1:1 w/v and then diluted to give 20 different concentrations. After that, the samples were measured for the absorbance at the wavenumber 12500 to 4000 cm-1 using a transflectance mode. The samples were also analyzed for total anthocyanins contents using pH differential method and found that the values of roselle and mulberry juices were in ranges of 8.85 - 454.38 and 3.00 – 98.35 mg/L, respectively. The relationship between the obtained spectra and chemical data was analyzed using partial least square regression and showed that the best prediction model for roselle juice gave R2, RMSEP, bias and RPD of 0.96, 20.70 mg/L, -6.40 mg/L and 5.35, respectively while that for mulberry juice gave R2, RMSEP, bias and RPD of 0.99, 2.91 mg/L, -0.20 mg/L and 8.36, respectively. In addition, the best model for combined data of roselle and mulberry juices gave R2, RMSEP, bias and RPD of 0.94, 25.10 mg/L, 0.86 mg/L and 4.02, respectively.
ผู้จัดทำ:รองศาสตราจารย์ ดร.บุศรากรณ์ มหาโยธี
รองศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ คูวิจิตรจารุ
09570246 : นางสาวกมลวัลย์ แดงมาดี
60403202 : นางสาวคคนางค์ ลิขิตวิวัฒน์
รายงานฉบับสมบูรณ์:Full paper(pdf)
ระดับคุณภาพงานวิจัย:มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล TCI
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology