การนำเสนอผลงาน : การประชุมวิชาการระดับชาติ
ชื่อเรื่อง:วรรณพร พันธนียะ และ เอกพันธ์ แก้วมณีชัย. 2559. การปรับสภาพน้าอ๎อยด๎วยการปรับพีเอชตํอการตกตะกอนในน้าอ๎อย. การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11–12 กรกฎาคม 2559. ณ ศูนย์สันสกฤตศึกษา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ
บทคัดย่อ:น้ำอ้อยมีองค์ประกอบเป็นอนุภาคคอลลอยด์ ได้แก่ อนุภาคโปรตีน เกลือ โพลีแซกคาไรด์ และกรดอินทรีย์บางชนิด รวมถึงสารประกอบฟลาโวนอยด์และโพลีฟีนอล ซึ่งทำให้น้ำอ้อยมีความขุ่นและมีสีเข้ม การปรับสภาพน้ำอ้อยด้วยการปรับ pH ให้มีความเป็นกรดมากขึ้นด้วยกรดซิตริกให้มี pH 3.0-5.0 และปรับ pH ให้มีความเป็นด่างมากขึ้นด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) ให้มี pH 6.0-9.5 จะส่งผลต่อคุณภาพทางกายภาพและเคมีแก่อนุภาคในน้ำอ้อย และมีผลต่อการตกตะกอนของน้ำอ้อย โดยเมื่อปรับน้ำอ้อยให้มี pH 9.0 หรือ pH 9.5 จะทำให้มีขนาดอนุภาคในน้ำอ้อยใหญ่ที่สุด มีความต่างศักย์ไฟฟ้าของอนุภาคเป็นลบมากที่สุด และยังมีจำนวนตะกอนมากที่สุด ทำให้เมื่อแยกส่วนใส ส่วนใสจะมีความขุ่นน้อย การปรับ pH น้ำอ้อยที่ pH 9.0 หรือ pH 9.5 จึงเป็น pH ที่เหมาะสมในการตกตะกอนอนุภาคคอลลอยด์ในน้ำอ้อย
Sugarcane juice consists of colloidal particles such as proteins, salt, polysaccharides and organic acids, also flavonoid compounds and polyphenolic compounds, causing high turbidity and dark color to the juice. Pretreatment of sugarcane juice by pH adjustment by adding citric acid and calcium hydroxide affected on physical and chemical properties of sugarcane juice particles and also the precipitation of particles. Sugarcane juices were adjusted by citric acid at pH 3.0-5.0 and calcium hydroxide at pH 6.0-9.5. All physical and chemical properties of sugarcane juice by pH adjustment of sugarcane juice were significantly different, sugarcane juice with pH 9.0 or 9.5 have the maximum particle size and sediment content and the zeta potential were also most negative. Clear juice was separated, sugarcane juice with pH 9.0 or 9.5 have less turbidity. Therefore, pH adjustment by calcium hydroxide at pH 9.0 or 9.5 would be suitable to separate sugarcane juice particles from sugarcane juice.
ผู้จัดทำ:57403212 : นางสาววรรณพร พันธนียะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพันธ์ แก้วมณีชัย
รายงานฉบับสมบูรณ์:รายงานฉบับสมบูรณ์(pdf)
Presentation:Presentation(pptx)
ระดับคุณภาพงานวิจัย:มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology