ชื่อเรื่อง: | ลักษมณ เลติกุล และ ปราโมทย์ คูวิจิตรจารุ. 2558. การลดปัญหาการเพิ่มของสัญญาณเนื่องจากแมทริกซ์ในการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในแตงกวาด้วยวิธีแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโตรเมตรี. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 46 ฉบับที่ 3/1 (พิเศษ) กันยายน-ธันวาคม 2558 หน้า 355-358 Full Text
|
บทคัดย่อ: | ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการวิเคราะห์สารพิษตกค้างด้วยวิธีแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโตรเมตรี คือ การเพิ่มของสัญญาณเนื่องจากแมทริกซ์ในตัวอย่าง โดยองค์ประกอบในตัวอย่างทำให้ความเข้มของสัญญาณของสารพิษตกค้างในตัวอย่างสูงกว่าเมื่ออยู่ในตัวทำละลายบริสุทธิ์และเป็นสาเหตุให้ค่าเปอร์เซ็นต์การคืนกลับที่ได้มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สารพิษตกค้างที่มีหมู่ไฮดรอกซี่ (-OH), หมู่อะมิโน (R-NH-), หมู่อิมิดาโซลและเบนซิมิดาโซล (-N=), หมู่คาร์บาเมต (-O-CO-NH-), อนุพันธ์ยูเรีย (-NH-CO-NH-) และสารประกอบออร์แกโนฟอสฟอรัส (-P=O) ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มของสัญญาณเนื่องจากแมทริกซ์มากกว่ากลุ่มอื่นๆ งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการลดผลกระทบจากการเพิ่มของสัญญาณเนื่องจากแมทริกซ์ในการวิเคราะห์สารพิษตกค้างกำจัดแมลง 68 ชนิด ในผลแตงกวา ด้วยการใช้สารประกอบที่ทำหน้าที่เป็น analytical protectants (APs) 2 ชุด คือ (1) ethylglycerol (10 g/L), D-(+)-gluconic acid-delta-lactone (1 g/L), D-sorbitol (1 g/L), shikimic acid (0.5 g/L) และ (2) D-ribonic acid-gamma-lactone (40 g/L) จากผลการวิเคราะห์ปริมาณสารพิษตกค้างโดยใช้กราฟมาตรฐานที่เตรียมในตัวทำละลายบริสุทธิ์และเติมสารละลายผสม APs ชุด (1) พบว่าการเติมสารละลายผสม APs 100 uL ให้ผลที่ดีกว่าการใช้ 50 uL แต่มีสารพิษตกค้างเพียง 16 ชนิด ที่ให้ความถูกต้องสัมพัทธ์ (relative accuracy) และค่าเปอร์เซ็นต์การคืนกลับ (recovery) อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80–120% และ 60–120% ตามลำดับ และพบว่าการใช้ D-ribonic acid-gamma-lactone 50 uL และ 100 uL ให้ผลไม่แตกต่างกัน โดยมีสารตกค้างกำจัดแมลง 48 ชนิด มีความถูกต้องสัมพัทธ์และค่าเปอร์เซ็นต์การคืนกลับอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด |
| One of the major problems in pesticide residue analysis using gas chromatography-mass spectrometry is a matrix enhancement effect from samples. The matrix components make unexpected higher recovery of pesticides than those in pure solvent. Pesticides including hydroxy (-OH), amino (R-NH-), imidazoles and benzimidazoles (-N=), carbamates (-O-CO-NH-), urea derivatives (-NH-CO-NH-) and several organophosphate compounds (-P=O) are the most affected analytes. Therefore, this research was intended to study the reduction of this problem in an analysis of 68 pesticide residues in cucumber fruits using 2 types of analytical protectants (APs): (1) ethylglycerol (10 g/L), D-(+)-gluconic acid-delta-lactone (1 g/L), D-sorbitol (1 g/L) and shikimic acid (0.5 g/L) and (2) D-ribonic acid-gamma-lactone (40 g/L). The results showed that the pesticide residues analyzed using a calibration curve prepared from pure solvent added with 100 uL of APs (1) showed the better results than 50 uL, but only 16 pesticides could be quantified with acceptable ranges of relative accuracy and recovery (80–120% and 60–120% respectively). Using 50 uL and 100 uL of D-ribonic acid-gamma-lactone did not show significantly difference. Forty eight pesticide residues could be quantified with acceptable ranges of relative accuracy and recovery. |
ผู้จัดทำ: | 54403307 : นางสาวลักษมณ เลติกุล รองศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ คูวิจิตรจารุ |