การนำเสนอผลงาน : วารสารในประเทศ
ชื่อเรื่อง:ชนิดา รุจิศรีสาโรช. 2557. ผลกระทบของระดับการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกต่อพฤติกรรมการซื้อและบริโภคเนื้อไก่ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University. ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 เดือนกันยายน – ตุลาคม.
The Effect Avian Influenza (Bird Flu) on Information Perception Chicken Purchase and in Bangkok
บทคัดย่อ:การระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศหลายด้าน เช่น ด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชากรที่บริโภคเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่ การศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาผลกระทบของสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดนกต่อพฤติกรรมการบริโภคเนื้อไก่สด และผลิตภัณฑ์จากไก่ของผู้บริโภค รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่เป็นสาเหตุในการตัดสินใจเลือกซื้อเนื้อไก่ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่ ผลการศึกษาโดยการสารวจจากผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จานวน 400 คน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนเคยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกคิดเป็น 100% และมีความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคไข้หวัดนกเป็นบางส่วนคิดเป็น50.7% ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลดังกล่าวจากสื่อโทรทัศน์คิดเป็น 28.8% ความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับไข้หวัดนกในด้านต่างๆอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในระดับมากที่สุดในด้านสัญลักษณ์มาตรฐานความปลอดภัย ความสะอาดของสถานที่จาหน่าย อย่างไรก็ตามคาแนะนาในการปรุงสุกเนื้อไก่ และปริมาณข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไข้หวัดนกที่มากเกินไปลดความเชื่อมั่นในการบริโภคเนื้อไก่ในระดับมากที่สุด สถานการณ์การระบาดของไข้หวัดนกลดความถี่ในการบริโภคเนื้อไก่ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเนื้อไก่ พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหรือบริโภคเนื้อไก่ ประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 ประกอบด้วย ความสะอาดของสถานที่ที่จาหน่าย ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ เช่นวันผลิต วันหมดอายุ กิจกรรมการส่งเสริมของรัฐบาล เช่น มหกรรมกินไก่ แหล่งที่ผลิต ความสดใหม่ของเนื้อไก่ และผลิตภัณฑ์เนื้อไก่ และชื่อตรา/ยี่ห้อ ปัจจัยที่ 2 ประกอบด้วย การโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เครื่องหมายรับรองว่าปลอดโรคของหน่วยงานรัฐ และราคา ปัจจัยที่ 3 ประกอบด้วย การส่งเสริมการขาย เช่น ลดราคา มีของแถม และลักษณะของบรรจุภัณฑ์ คาสาคัญ : ไข้หวัดนก/พฤติกรรมการบริโภค/รับรู้ข้อมูล
The outbreak of bird flu in Thailand caused various damages including public health, economic, industry and population’s confidence on chicken and its products consumption. The objective of this study was to investigate the impact of bird flu outbreak on consumer behavior and consumption of chicken and its products including factors influencing chicken and its products purchasing decision. According to survey with 400 consumers in Bangkok, it was found that most respondents used to receive information about bird flu 100% and comprehend it partially 50.7%. Most respondents received such information through television 28.8 %. The extent of their opinions on various bird flu information perceptions at the great to extreme level include safety standard symbol, hygiene of selling point, chicken cooking instruction. Over flow of information reduced chicken consumption frequency. According to principal component analysis, it was found that factors influencing chicken purchase and consumption consisted of 3 principal components. The first component consists of hygiene at point of sell, information on packaging such as production date and expiry date, government promoting activities such as chicken eating festival, production source, chicken meat freshness and product brand. The second component consists of advertisement through media such as television and radio, official safety logo and product price. The third component consists of reduced price, complementary gifts and packaging design.
ที่ปรึกษา:ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสงค์ ศิริวงศ์วิไลชาติ
ผู้จัดทำ:55403301 : นางสาวชนิดา รุจิศรีสาโรช
ระดับคุณภาพงานวิจัย:มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล TCI
ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
Tel 0-3424-2322 (สายตรง) หรือ 0-3410-9686 ต่อ 209300
E-mail: foodtech@su.ac.th
เว็บไซต์คณะฯ  เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากร
Copyright © 2023 Department of Food Technology